สแกนหนังสือ

        งานสแกนหนังสือเป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียดในการทำงานมากกว่าเอกสารทั่วไปเป็นอย่างมาก หนังสือจะมีหลายประเภทและความหลากหลาย เช่น หนังสือใหม่, หนังสือเข้าเล่มปกแข็ง, หนังสือรุ่น, หนังสือในห้องสมุด, หนังสือหน่วยงานราชการ, Text Book, วารสารเย็บเล่ม, วิทยานิพนธ์, สารนิพนธ์ ฯลฯ

หนังสือทั่วไป

 

 

หนังสือเข้าเล่มปกแข็ง

 

วารสาร รายงาน เข้าเล่มแบบต่างๆ

 

        รูปแบบการให้บริการสแกนหนังสือ จะเป็นแบบ Offsite Service คือจะเป็นการรับหนังสือเข้ามาสแกนที่ศูนย์สแกนเอกสาร เนื่องจากการสแกนหนังสือต้องใช้ระยะเวลาและความละเอียดในการสแกนมาก งานที่ได้จะต้องสวยงามไม่มีรอยขอบดำให้เห็น ซึ่งจะเป็นการรับ-ส่งเอกสารด้วยกล่องจัดเก็บเอกสารที่ได้มาตรฐาน เพื่อป้องกันเอกสารไม่ให้ได้รับความเสียหายจากการขนส่ง ซึ่งจะเป็นการให้บริการที่ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆเพิ่มเติมทั้งสิ้น 

กล่องจัดเก็บเอกสารที่ใช้ในการรับ-ส่งตัวเล่มหนังสือ

 

งานสแกนหนังสือจะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ

       1.   แบบตัดเล่ม  ในกรณีนี้ หนังสือจะถูกตัดสันให้กลายเป็นแผ่นๆ ก่อนที่จะทำการสแกน ซึ่งทำให้รูปเล่มได้รับความเสียหาย ไม่สามารถเข้าเล่มคืนเหมือนเดิมได้ จะใช้เครื่อง Scanner ขนาด A4-A3 แบบ Feed ได้ สามารถสแกนได้ทั้งสีหรือขาว-ดำ และ 2 หน้าพร้อมกัน(กรณีเอกสารมี 2 ด้าน) ความเร็วตั้งแต่ 40-90 แผ่นต่อนาที ข้อดีคือจะมีความรวดเร็วในการสแกน ภาพที่ได้จะมีความคมชัด ราคาต่อหน้าจะถูกกว่าแบบไม่ตัดเล่ม

 

หนังสือที่ผ่านตัดสันเล่ม ด้วยเครื่องตัดเล่ม

 

การสแกนหนังสือแบบตัดเล่ม ด้วยเครื่อง High Speed Document Scanner

 

       2.   แบบไม่ตัดเล่ม  ในกรณีนี้ ข้อดีคือหนังสือรูปเล่มยังคงสภาพเหมือนเดิม ไม่ได้รับความเสียหายจากการตัดสัน ภาพที่ได้มีความคมชัด แต่ความรวดเร็วในการสแกนจะลดลงมาก ราคาต่อหน้าจะแพงกว่าแบบตัดเล่มได้  ซึ่งจะใช้เครื่อง Scanner ขนาด A4-A3 แบบ Flatbed สามารถสแกนได้ทั้งสีและขาว-ดำ ใช้สำหรับสแกนเอกสารประเภทหนังสือหรือเอกสารที่ไม่สามารถ Feed ได้

การสแกนหนังสือแบบไม่ตัดเล่มด้วย Book Scanner

 

 การสแกนหนังสือแบบไม่ตัดเล่มด้วย Book Scanner จะไม่มีรอยดำจากสันหนังสือ

 

 เปรียบเทียบการสแกนหนังสือด้วย Book Scanner กับ Scanner ทั่วไป

 

Mode การสแกนและความละเอียดของการสแกนหนังสือ(Dpi)

     Mode ในการสแกนหนังสือ จะมี 3 แบบ การใช้งานก็จะขึ้นอยู่กับหนังสือต้นฉบับว่าเป็นแบบไหน

1. Black&White จะเป็นลักษณะการสแกนแบบขาว-ดำ เหมาะสำหรับหนังสือต้นฉบับเป็นตัวหนังสือขาว-ดำ ก็จะสแกนเป็น Mode Black&White ข้อดีคือ ภาพที่ได้จะคมชัด พื้นหลังจะเป็นพื้นขาวสวยงาม จะนำไปปริ้นเป็นเอกสารขาว-ดำก็จะสวยงาม ขนาด File ที่ได้ก็จะเล็กกว่า Mode อื่นๆ

2. Grayscale จะเป็นลักษณะการสแกนแบบขาว-ดำเหมือนกัน แต่จะมีระดับความเข้มของสีขาว-ดำ 256 ระดับ เหมาะสำหรับหนังสือต้นฉบับเป็นตัวหนังสือและรูปภาพที่เป็นขาว-ดำ ก็จะสแกนเป็น Mode Grayscale ข้อดีคือ ตัวหนังสือและภาพที่ได้จะคมชัดสวยงาม แต่ขนาด File ที่ได้ก็จะใหญ่กว่า Mode Black&White

3. Color จะเป็นลักษณะการสแกนแบบสี เหมาะสำหรับหนังสือต้นฉบับที่เป็นภาพสี ก็จะสแกนเป็น Mode Color ข้อดีคือ ตัวหนังสือและภาพที่ได้จะเป็นสีคมชัดสวยงามเหมือนต้นฉบับ แต่ขนาด File ที่ได้ก็จะใหญ่กว่า Mode Black&White และ Grayscale มาก

 

 

 Mode การสแกนและความละเอียดของการสแกนหนังสือ

 

    ความละเอียดของการสแกนหนังสือ(Dpi) จะมีตั้งแต่ 100 Dpi- 600 Dpi ยิ่งตัวเลขยิ่งสูงเท่าไร ความละเอียดในการสแกนยิ่งสู่งขึ้นเท่านั้น และขนาด File ที่ได้ก็จะยิ่งสูงขึ้นด้วย ทำให้ระยะเวลาในการทำงานยิ่งนานขึ้น ซึ่งจะส่งผลในเรื่องของราคาต่อหน้าด้วย ความละเอียดที่ใช้กันก็จะอยู่ที่ 300 Dpi ซึ่งจะทำให้ขนาด File ไม่ใหญ่มากและยังคงมีความคมชัดด้วย ไม่ว่าจะดูผ่านหน้าจอหรือจะปริ้นออกมา   

 

รูปแบบในการจัดเก็บ File (File Format)

     การจัดเก็บ File ที่ได้จากการสแกน ที่ได้รับความนิยม จะมี 3 รูปแบบคือ

     1.  JPEG (Joint Photographic Experts Group)

     2.  TIFF (Tagged-Image File Format)

     3.  PDF (Portable Document Format)

 

JPEG (Joint Photographic Experts Group)

      เหมาะสำหรับจัดเก็บภาพสแกนที่เป็นสี เช่น รูปถ่าย รูปภาพ จะมีรูปแบบของการบีบอัดไฟล์รูปภาพที่มีการสูญเสียความละเอียดจากภาพต้นฉบับน้อยที่สุด โดยรูปภาพประเภท JPEG นั้นนิยมใช้ในการรับส่งไฟล์หรือใช้ทำเว็บไซต์มากที่สุด โดยเฉพาะภาพถ่ายที่สามารถเก็บความละเอียดได้สูงในขณะที่ขนาดไฟล์นั้นเล็ก แต่สามารถบันทึกได้แค่ 1 ภาพต่อ 1 File เท่านั้น จึงอาจจะไม่เหมาะกับเอกสารประเภทหนังสือซึ่งต้องการการจัดเก็บแบบหลายหน้าต่อ 1 File(1 เล่ม/File)

TIFF (Tagged-Image File Format)

      เหมาะสำหรับจัดเก็บภาพสแกนที่เป็นขาว-ดำ เช่น เอกสารขาว-ดำต่างๆ TIFF เป็นรูปแบบที่มีความยืดหยุ่น สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ เนื่องจากมี Tagged Field ให้ใช้ต่างกันหลายร้อยชนิด ไฟล์แบบนี้จึงมีข้อดี คือ ใช้ได้กับโปรแกรมกราฟิกทุกประเภท สามารถใช้ได้ในระบบคอมพิวเตอร์หลายๆ ระบบ และกำหนดขอบเขตที่กว้างขวางของภาพ bitmap ได้ นอกจากนี้ TIFF ยังสามารถทำบางสิ่งที่ bitmap อื่นทำไม่ได้ สามารถบันทึกได้ 1 ภาพต่อ 1 File หรือ ต้องการการจัดเก็บแบบหลายหน้าต่อ 1 File (Multi Tiff) ก็ได้ 

    

 PDF (Portable Document Format)

      เหมาะสำหรับจัดเก็บภาพสแกนที่เป็นสีหรือขาว-ดำ ไฟล์ประเภท PDF หรือ Portable Document Format ถูกพัฒนาโดย Adobe System Inc เพื่อจัดเอกสารให้อยู่ในรูปแบบที่เหมือนเอกสารพร้อมพิมพ์ ไฟล์ประเภทนี้สามารถใช้งานได้ในระบบปฏิบัติการจำนวนมากและรวมถึงอุปกรณ์ E-Book Reader ของ Adobe ด้วยเช่นกัน และยังคงลักษณะเอกสารเหมือนต้นฉบับ เอกสารในรูปแบบ PDF สามารถจัดเก็บ ตัวอักษร รูปภาพ รูปลายเส้น ในลักษณะเป็นหน้าหนังสือ ตั้งแต่หนึ่งหน้า หรือหลายพันหน้าได้ในแฟ้มเดียวกัน PDF เป็นมาตรฐานที่เปิดให้คนอื่นสามารถเขียนโปรแกรมมาทำงานร่วมกับ PDF ได้ จึงเป็น File ที่ได้รับความนิยมในการจัดเก็บ File จากการสแกนหนังสือมากที่สุด  

 

บันทึกเป็น PDF File

 

       คุณสมบัติอีกอย่างหนึ่งของ PDF File คือการจัดทำ Bookmark จากหน้าสารบัญ เพื่อให้สามารถกดแล้ว Link ไปหน้าที่เราต้องการได้เลย โดยเฉพาะหนังสือที่มีจำนวนหน้ามากๆ ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ในการเปิดหน้าเอกสารที่ต้องการ โดยการคลิก Link เท่านั้น       

 

การทำ Bookmark ใน PDF File

 

     นอกจากจะแกนเอกสารหนังสือจัดเก็บเป็น PDF File แล้ว สามารถจัดเก็บเป็น File Format ชนิดอื่นได้ เช่น Tiff File, Jpeg File หรือจะจัดทำในลักษณะ E-Book ที่สามารถเปิดหน้าเอกสารคล้ายๆกับการเปิดเอกสารจริง ซึ่งสามารถ Upload เข้าสู่ระบบจัดเก็บเอกสาร สามารถค้นหาและใช้งานผ่านระบบ Computer เช่น ระบบห้องสมุด ฯ

 

       ซึ่งในแต่ละรูปแบบต่างๆ ที่มีรายละเอียดที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้ราคาการจัดทำต่อหน้าเพิ่มขึ้นด้วย

 

 
Visitors: 154,506